วันเสาร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บทเรียน เรื่องนาฎศิลป์ไทย


                                                                               
 
 
 
                   1.  เพื่อให้มีโอกาสได้แสดงออก หากมีความถนัดทางด้านนาฎศิลป์
                                                                                                                                              2.  เพื่อเป็นการร่วมมือในการรักษาการร่ายรำของไทยให้ เป็นสมบัติอันมีค่าประจำชาติ                                                
                   3.  ปลูกฝังให้มีนิสัยรักในศิลปะแขนงนี้
                                                                                                                                                     4.  ช่วยในการสร้างบุคลิกภาพให้เคลื่อนไหวไม่ขัดตาท่าทางสง่าน่าดูไม่ขวยเขิน
                        เหนียมอายเมื่ออยู่ต่อหน้าคนมาก                                                                                                                                                                                                                      5.  การฟ้อนรำเป็นการออกกำลังกายที่ได้บริหารทุกส่วนของร่างกาย
                        และทำให้   กล้ามเนื้อแข็งแรง
 
นาฏศิลป์ไทย


             นาฏศิลป์ไทย เป็นศิลปวัฒนธรรมสาขาหนึ่ง ที่แสดงถึงความเป็นชาติที่เจริญรุ่งเรืองของไทยเรา ความงดงามของท่าร่ายรำตามจังหวะ และทำนองเพลง ตลอดจนการแสดงสื่อความหมายด้วยบทเจรจา ท่าทาง และคำร้องเป็นลำนำ ช่วยให้ผู้ชมได้ชื่นบานสนุกสนานได้อิ่มเอมกับสุนทรียรส   และเกิดอารมณ์คล้อยตามไปกับการแสดง    นาฏศิลป์ไทยจึงเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของชาติเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่ ปู่ ย่า ตา ยาย ได้ถ่ายทอดไว้ให้ สมควรที่เยาวชนทั้งหลาย ควรสนใจรับสืบทอด และรักษาไว้เป็นศรีสง่า
ของชาติไทยสืบไป
             ท่วงทีของการร่ายรำนั้น เกิดขึ้นจากอิริยาบทต่าง ๆ ของคน ในชีวิตประจำวันนั่นเอง  แม้ว่ามือและแขนจะเป็นส่วนสำคัญของการรำ    แต่อวัยวะทุกส่วนไม่ว่าจะเป็นศีรษะ   หน้า  คอ  ลำตัว  เอว  ขา และเท้าก็ต้องเคลื่อนไหว    รับสัมพันธ์กันทุกส่วนจึงจะแลดูงามและสื่อความหมายได้ดี     การแสดงท่ากวัก  โบกสะบัด  จีบคว่ำ จีบหงาย ร้องไห้ อิ่มเอม โกรธ ขับไล่ ฯลฯ ล้วนแต่มีท่ารำที่สวยงาม และดูได้เข้าใจชัดเจนทั้งสิ้น
           เนื่องจากการร่ายรำ เป็นศิลปะขั้นสูง ผู้ที่จะรำเป็นจึงต้องได้รับการฝึกหัด และฝึกฝนอย่างจริงจัง จึงจะดูนิ่มนวล   กลมกลืนและงามสง่า    ครูนาฏศิลป์โบราณได้ประดิษฐ์ท่ารำไว้มาก     เป็นท่าหลักที่ต้องเรียนรู้ให้แม่นยำ ท่าหลักสำหรับฝึกหัดรำนี้มักเรียกกันว่า"แม่บท” เป็นท่ารำที่เลียนแบบอิริยาบททั้งของเทพบุตร เทพธิดา คน สัตว์ และธรรมชาติแวดล้อม เช่น เทพนม สอดสร้อยมาลากวางเดินดง เมขลาล่อแก้ว ยอดตองต้องลม  เป็นต้น            ท่ารำบางท่าเป็นการแสดงความรู้สึกและอารมณ์ เช่น ท่าเสือทำลายห้างช้างทำลายโรง หนุมานผลาญยักษ์ พระลักษณ์แผลงฤทธิ์ เป็นต้น 

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น