วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

นาฎศัพท์ น่ารู้

 นาฏยศัพท์น่ารู้
        นาฏยศัพท์   หมายถึง  ศัพท์ที่ใช้ในวงการนาฏศิลป์ไทย  เป็นศัพท์เฉพาะที่ใช้เรียกท่าทางที่ปฏิบัติ  หรือกิริยาอาการต่าง ๆ ที่ปฏิบัติเกี่ยวกับนาฏศิลป์  เพื่อใช้สื่อความหมายให้เกิดความเข้าใจและสามารถปฏิบัติได้ตรงกัน
        ท่ารำเบื้องต้นหรือนาฏยศัพท์  เป็นลักษณะการรำที่ต้องมีการฝึกฝนเพื่อเป็นแนวทางพัฒนาไปสู่ท่ารำแบบอื่นต่อไป  นาฎศัพท์แบ่งออกเป็น 2ส่วน  ส่วนมือและส่วนเท้า

        ส่วนมือ  จะใช้ในเรื่องของการจีบและการตั้งวง  การจีบจะใช้นิ้วหัวแม่มือมาจรดที่ข้อแรกของนิ้วชี้ทั้งสอง  ได้แก่  จีบหงาย  จีบคว่ำ  จีบปรกข้าง  และจีบปรกหน้า  การตั้งวงส่วนโค้งของลำแขนนิ้วทั้งสี่ชิดติดกันหัวแม่มือหักเข้าหาฝ่ามือ  ได้แก่ วงบน  วงกลาง  วงล่าง

       ส่วนเท้า  จะใช้เท้าวางข้างใดข้างหนึ่งวางไว้ข้างหลังโดยใช้ส่วนจมูกเท้าวางอยู่บนพื้นใช้ส้นเท้าวางติดพื้นได้แก่  ประเท้า  ยกเท้า  ก้าวไขว้  ก้าวข้าง  และกระดกเท้า


...........................................................................
ใบงาน

ลีลานาฎยศัพท์และภาษาท่า
คำสั่ง  ให้นักเรียนสังเกตุรูปภาพและเติมชื่อท่ารำใต้ภาพพร้อมระบายสี
ชื่อ........................................................................................... ชั้น......................................เลขที่............... 




                             
                                   ...............................................................................................

วันเสาร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ภาษาท่า น่ารู้


ภาษาท่าน่ารู้


    

         ภาษาท่า   หมายถึง  การแสดงกิริยาท่าทางเพื่อสื่อความหมายแทนคำพูดส่วนมากใช้ในการแสดงนาฏศิลป์และการแสดงละครต่าง ๆ   เพราะต้องใช้การเคลื่อนไหวแทนคำพูดและความหมายต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความสวยงามในการแสดง
        ภาษาท่าสามารถสื่อสารให้ผู้ชมเข้าใจได้  แบ่งออกเป็น  4  ประเภท  ดังนี้
1.      ท่าทางที่ใช้เลียนแบบคน
2.      ท่าทางที่ใช้เลียนแบบสัตว์
3.      ท่าทางที่ใช้เลียนแบบสิ่งของ
4.      ท่าทางที่ใช้เลียนแบบธรรมชาติ
  
     ภาษาท่าที่ใช้ในการแสดงนาฏศิลป์ เป็นการสื่อความหมายแทนคำพูดอย่างหนึ่ง  ซึ่งจะทำให้การแสดงนาฏศิลป์มีความสวยงามยิ่งขึ้น  เพลงปลุกใจเป็นเพลงประเภทหนึ่งที่ใช้ภาษาท่าหรือท่ารำประกอบ    เพื่อที่จะสื่อความหมายของเนื้อเพลงให้ชัดเจนขึ้น  และมีความสวยงามในการแสดงเพลงปลุกใจ.










บทเรียน เรื่องนาฎศิลป์ไทย


                                                                               
 
 
 
                   1.  เพื่อให้มีโอกาสได้แสดงออก หากมีความถนัดทางด้านนาฎศิลป์
                                                                                                                                              2.  เพื่อเป็นการร่วมมือในการรักษาการร่ายรำของไทยให้ เป็นสมบัติอันมีค่าประจำชาติ                                                
                   3.  ปลูกฝังให้มีนิสัยรักในศิลปะแขนงนี้
                                                                                                                                                     4.  ช่วยในการสร้างบุคลิกภาพให้เคลื่อนไหวไม่ขัดตาท่าทางสง่าน่าดูไม่ขวยเขิน
                        เหนียมอายเมื่ออยู่ต่อหน้าคนมาก                                                                                                                                                                                                                      5.  การฟ้อนรำเป็นการออกกำลังกายที่ได้บริหารทุกส่วนของร่างกาย
                        และทำให้   กล้ามเนื้อแข็งแรง
 
นาฏศิลป์ไทย


             นาฏศิลป์ไทย เป็นศิลปวัฒนธรรมสาขาหนึ่ง ที่แสดงถึงความเป็นชาติที่เจริญรุ่งเรืองของไทยเรา ความงดงามของท่าร่ายรำตามจังหวะ และทำนองเพลง ตลอดจนการแสดงสื่อความหมายด้วยบทเจรจา ท่าทาง และคำร้องเป็นลำนำ ช่วยให้ผู้ชมได้ชื่นบานสนุกสนานได้อิ่มเอมกับสุนทรียรส   และเกิดอารมณ์คล้อยตามไปกับการแสดง    นาฏศิลป์ไทยจึงเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของชาติเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่ ปู่ ย่า ตา ยาย ได้ถ่ายทอดไว้ให้ สมควรที่เยาวชนทั้งหลาย ควรสนใจรับสืบทอด และรักษาไว้เป็นศรีสง่า
ของชาติไทยสืบไป
             ท่วงทีของการร่ายรำนั้น เกิดขึ้นจากอิริยาบทต่าง ๆ ของคน ในชีวิตประจำวันนั่นเอง  แม้ว่ามือและแขนจะเป็นส่วนสำคัญของการรำ    แต่อวัยวะทุกส่วนไม่ว่าจะเป็นศีรษะ   หน้า  คอ  ลำตัว  เอว  ขา และเท้าก็ต้องเคลื่อนไหว    รับสัมพันธ์กันทุกส่วนจึงจะแลดูงามและสื่อความหมายได้ดี     การแสดงท่ากวัก  โบกสะบัด  จีบคว่ำ จีบหงาย ร้องไห้ อิ่มเอม โกรธ ขับไล่ ฯลฯ ล้วนแต่มีท่ารำที่สวยงาม และดูได้เข้าใจชัดเจนทั้งสิ้น
           เนื่องจากการร่ายรำ เป็นศิลปะขั้นสูง ผู้ที่จะรำเป็นจึงต้องได้รับการฝึกหัด และฝึกฝนอย่างจริงจัง จึงจะดูนิ่มนวล   กลมกลืนและงามสง่า    ครูนาฏศิลป์โบราณได้ประดิษฐ์ท่ารำไว้มาก     เป็นท่าหลักที่ต้องเรียนรู้ให้แม่นยำ ท่าหลักสำหรับฝึกหัดรำนี้มักเรียกกันว่า"แม่บท” เป็นท่ารำที่เลียนแบบอิริยาบททั้งของเทพบุตร เทพธิดา คน สัตว์ และธรรมชาติแวดล้อม เช่น เทพนม สอดสร้อยมาลากวางเดินดง เมขลาล่อแก้ว ยอดตองต้องลม  เป็นต้น            ท่ารำบางท่าเป็นการแสดงความรู้สึกและอารมณ์ เช่น ท่าเสือทำลายห้างช้างทำลายโรง หนุมานผลาญยักษ์ พระลักษณ์แผลงฤทธิ์ เป็นต้น 

 

ทดสอบก่อนเรียน


แบบทดสอบก่อนเรียน

วันอาทิตย์ 24 พฤศจิกายน 2556

คำชี้แจง ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุด
1. ถ้าตัวแสดงนำมือมาประสานกันไว้ที่อก  มีความหมายว่าอย่างไร
    ก.  หาว
    ข.  พร้อมใจ
    ค.  พูด
    ง.  หัวเราะ
2. ภาษาท่า รัก  ข้อใดถูกต้อง
    ก.  ยกมือขึ้นแล้วชูนิ้ว
    ข.  โบกมือไปมา
    ค.  เอามือบังสายตา
    ง.  ประสานมือไว้ที่อก
3. เพราะเหตุใดจึงต้องใช้ภาษาท่าในการแสดงนาฏศิลป
    ก.  เพื่อให้เข้าใจเนื้อเรื่องได้ชัดเจนขึ้น
    ข.  เพื่อให้ชาวต่างประเทศชื่นชม
    ค.  เพื่อให้เกิดความสวยงาม
    ง.  เพื่อให้เกิดความสนุกสาน
4. ภาษาท่า  พูด  ใช้นิ้วใดชี้ที่ปาก
    ก.  นิ้วโป้ง
    ข.  นิ้วชี้
    ค.  นิ้วกลาง
    ง.  นิ้วนาง
5. การทำท่าทางประกอบเพลงควรคำนึงถึงข้อใด
    ก.  ผู้ประพันธ์
    ข.  เสียงประสาน
    ค.  ทำนอง
    ง.  ความหมาย
6. การทำท่าทางประกอบเพลงไก่ขัน
    ก.  เขย่งเท้าวิ่ง
    ข.  กางมือขึ้นลง
    ค.  คลานไปข้างหน้า
    ง.  กระโดดไปมา
7. การเขย่งเท้าวิ่ง  เป็นท่าที่เหมาะกับเพลงใด
    ก.  เพลงปู
    ข.  เพลงแมงมุมลาย
    ค.  เพลงม้าวิ่ง
    ง.  เพลงรถไฟ
8. การตั้งวงกลางปลายนิ้วอยู่ระดับใด
    ก.  ศีรษะ
    ข.  ไหล่
    ค.  อก
    ง.  เอว
9. การจีบเกี่ยวข้องกับนิ้วใด
    ก.  นิ้วโป้งและนิ้วนาง
    ข.  นิ้วโป้งและนิ้วกลาง
    ค.   นิ้วโป้งและนิ้วชี้
    ง.  นิ้วชี้และนิ้วกลาง
10. การจีบที่บริเวณหัวเข็มขัด เป็นการจีบแบบใด
    ก.  จีบหงาย
    ข.  จีบคว่ำ
    ค.  จีบชายพก
    ง.  จีบปรกข้าง

ประวัติผู้จัดทำ บล๊อค





ประวัติผู้จัดทำ


               ชื่อ                     นางสาวพรสวรรค์  ชาวน้ำ
               ที่อยู่                   172/1  หมู่ 5  ตำบลอำแพง  อำเภอบ้านแพ้ว  สมุทรสาคร  74120
               โทรศัพท์มือถือ      086-3338747
               ตำแหน่ง              ครู ประจำวิชา ดนตรี-นาฎศิลป์  ระดับชั้นประถมศึกษา
                                        โรงเรียนสาสน์วิเทศพระราม2  สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ
                                        ส่งเสริมการศึกษาเอกชน
               ที่อยู่อีเมลล์          Pornsawan.aof@gmail.com
               ประวัติการศึกษา    ปริญญาตรี  ศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร