วันศุกร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2556

สื่อประกอบการเรียนการสอน



www.oknation.net   ที่มา

แผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะเรื่อง ภาษาท่าทางนาฏศิลป์ไทย


กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ รหัสวิชา ศ 13101 หน่วยการเรียนรู้ที่ 8 หลักและวิธีการปฏิบัตินาฏศิลป์
เรื่อง ภาษาท่าทางนาฏศิลป์ไทย
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 เวลาเรียน 1 ชั่วโมง
สอนวันพูธ ที่ 5 เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2556 เวลา 13.25 -14.15 น. ครูผู้สอน  น.ส.พรสวรรค์  ชาวน้ำ
“”””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””
สาระที่
                 แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 12 ภาษาท่าทางนาฏศิลป์
มาตรฐานที่
                    มาตรฐานที่ 3.1 เข้าใจและแสดงออกทางนาฏศิลป์อย่างสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์คุณค่านาฏศิลป์ ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดอย่างอิสระ ชื่นชมและประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
ตัวชี้วัด
                 มฐ.ศ 3.1 การแสดงท่าทางเพื่อสื่อความหมายแทนคำพูด
จุดประสงค์การเรียนรู้ตัวชี้วัด
              1.อธิบายเกี่ยวกับภาษาท่ารำทางนาฏศิลป์ไทยที่ตนเองชื่นชอบได้ (K)       
           2.ปฏิบัติภาษาท่าทางนาฏศิลป์ไทยได้สวยงาม (P)
               3.ชื่นชมการปฏิบัติภาษาท่ารำทางนาฏศิลป์ไทยที่สวยงาม (A)
สาระการเรียนรู้
 ความรู้
                  ภาษาท่ารำทางนาฏศิลป์ไทย: รัก ดีใจ เขินอาย ตัวเรา

คุณลักษณะอันพึงประสงค์
              ใฝ่เรียนรู้ มุ่งมั่นในการทำงาน รักความเป็นไทย   
กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นนำ
        1.ครูนำบัตรคำให้นักเรียนดูและปฏิบัติท่าเลียนแบบคนและสัตว์ในภาพจิตนาการของตนเองทีละใบ

ท่าปลา
 
 ท่านก
 
 ท่าลิง                ]mj
 
ท่าอาย
 
 ท่ารัก
 
ท่าดีใจ
 
  


   จากนั้นใช้คำถามเพื่อให้นักเรียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับผลการปฏิบัติดังกล่าว ดังนี้
-          นักเรียนชอบปฏิบัติท่าทางเลียนแบบคนและสัตว์ชนิดใดมากที่สุด
-          นักเรียนปฏิบัติท่าทางเลียนแบบคนและสัตว์ชนิดใดได้เหมือนที่สุด
-          นักเรียนรู้สึกอย่างไรเมื่อได้ปฏิบัติท่าทางเลียนแบบคนและสัตว์ในบัตรคำ
ขั้นสอน
        2.ครูอธิบายเกี่ยวกับท่ารำทางนาฏศิลป์ไทยให้นักเรียนฟังและสาธิตท่ารำทางนาฏศิลป์ไทยที่ถูกต้องตามท่าในบัตรคำที่ให้นักเรียนดูและปฏิบัติตามทีละท่า โดยมีครูดูแลและให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิดจนทุกคนสามารถทำได้ถูกต้อง และครูใช้คำถามเพื่อให้นักเรียนแสดงความคิกเห็นเกี่ยวกับผลปฏิบัติภาษาท่าทางนาฏศิลป์ไทยของตนเอง ดังนี้
-          นักเรียนสามารถแสดงภาษาท่ารำทางด้านนาฏศิลป์ไทยท่ารัก ได้ในระดับใด (ดี/พอใช้/ควรปรับปรุง)
-          นักเรียนสามารถแสดงภาษาท่ารำทางด้านนาฏศิลป์ไทยท่าดีใจ ได้ในระดับใด (ดี/พอใช้/ควรปรับปรุง)
-          นักเรียนสามารถแสดงภาษาท่ารำทางด้านนาฏศิลป์ไทยท่าอาย ได้ในระดับใด (ดี/พอใช้/ควรปรับปรุง)
-          นักเรียนสามรถแสดงภาษาท่ารำทางด้านนาฏศิลป์ไทยท่าลิง ได้ในระดับใด (ดี/พอใช้/ควรปรับปรุง)
-          นักเรียนสามารถแสดงภาษาท่ารำทางด้านนาฏศิลป์ไทยท่านก ได้ในระดับใด (ดี/พอใช้/ควรปรับปรุง)
-          นักเรียนสามารถแสดงภาษาท่ารำทางด้านนาฏศิลป์ไทยท่าปลา ได้ในระดับใด (ดี/พอใช้/ควรปรับปรุง)
จากนั้นครูให้คำแนะนำเพิ่มเติมแก่นักเรียนที่มีผลการปฏิบัติภาษาท่ารำทางนาฏศิลป์ในระดับพอใช้และควรปรับปรุง เพื่อให้เป็นแนวทางการพัฒนาผลการปฏิบัติภาษาท่ารำทางนาฏศิลป์ไทยของตนเองให้ดีขึ้น


        3.ให้นักเรียนแบ่งกลุ่มออกเป็นกลุ่มละ 4 กลุ่ม กลุ่มละเท่าๆกันแล้วให้นักเรียนเล่นเกมจับกลุ่มรู้ภาษาท่ารำทางนาฏศิลป์ไทยโดยวิธีการเล่นและขั้นตอนดังนี้

ท่าปลา
 
 ท่านก
 
 ท่าลิง                ]mj
 
ท่าอาย
 
 ท่ารัก
 
ท่าดีใจ
 
  

ครูอธิบายการเล่นเกมให้นักเรียนฟัง ดังนี้
-          ให้นักเรียนส่งตัวแทนออกมาหน้าชั้นเรียนทีละกลุ่ม กลุ่มละ 1 คน โดยจับบัตรคำที่ครูเตรียมให้ 1 ใบ และปฏิบัติท่ารำให้เพื่อนในกลุ่มตอบ กลุ่มใดตอบถูกได้ 1 คะแนน กลุ่มใดตอบผิดกลุ่มอื่นมีสิทธิ์เล่นในข้อนี้ต่อไป กลุ่มที่ได้คะแนนมากที่สุดเป็นผู้ชนะ
-          กลุ่มที่ชนะออกมาแสดงภาษาท่ารำทางนาฏศิลป์ไทยทั้ง 6 ท่าทำให้เพื่อนดูและตรวจสอบความถูกต้อง
-          จากนั้นให้นักเรียนทุกคนแสดงท่ารำตามภาษาท่าทางนาฏศิลป์ไทยในบัตรคำทีละท่าพร้อมๆกัน
ขั้นสรุป
        4.ให้นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับภาษาท่ารำทางนาฏศิลป์ไทยที่ตนเองชอบโดยครูใช้คำถามดังนี้
        -     ภาษาท่ารำทางนาฏศิลป์ไทยที่นักเรียนชื่นชอบมากที่สุดคือภาษาท่ารำทางนาฏศิลป์ไทยท่าใด(ตัวอย่างคำตอบ ภาษาท่ารำทางนาฏศิลป์ไทยท่าดีใจ)
       -     เพราะเหตุใดนักเรียนจึงชอบภาษาท่ารำทางนาฏศิลป์ไทยดังกล่าว (ตัวอย่างคำตอบ เพราะสามารถปฏิบัติได้ถูกต้องสวยงาม)
        5.ให้นักเรียนและครูร่วมกันสรุปความรู้ดังนี้
        ภาษาท่ารำทางนาฏศิลป์ไทยเป็นการแสดงท่าทางการรำอย่างมีรูปแบบที่เรานิยมใช้ท่าทีเป็นนาฏศิลป์สื่อความหมายให้แก่ผู้ชมได้เข้าใจในเรื่องราวที่ต้องการสื่อได้ตรงกันและมีความอ่อนช้อย งดงาม น่าประทับใจเมื่อได้ชม
        6.ให้นักเรียนร่วมแสดงความคิดเห็น โดยครูใช้คำถามดังนี้
        -     การปฏิบัติภาษาท่าทางนาฏศิลป์ไทยได้ถูกต้องสวยงามมีประโยชน์ต่อการแสดงนาฏศิลป์ไทยอย่างไร
        7.ให้นักเรียนทำใบงานที่ 2


สื่อและแหล่งการเรียนรู้
        1.บัตรคำ
        2.เกมจับกลุ่มรู้ภาษาท่ารำทางนาฏศิลป์ไทย
           3.ใบงานที่ 2

การวัดผลและประเมินผล
        1.อธิบายเกี่ยวกับความหมายภาษาท่าทางนาฏศิลป์ไทย
       2.แสดงท่าภาษาท่าทางนาฏศิลป์ไทย
บันทึกหลังสอน
............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
ปัญหาและอุปสรรค
.............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
แนวทางการแก้ไข
................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
ลงชื่อ.....................................................ครูผู้สอน
                                                                                                    ( นางสาวพรสวรรค์  ชาวน้ำ )
                                                                            วันที่สอน...............................................



ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้บริหาร
................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
ลงชื่อ.....................................................ผู้ตรวจ
                                                                                     ( นางจงกลณี  กาญจนวิรัช )
                                                                                              วันที่ตรวจงาน.......................................

วันจันทร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2556

อ้างอิง

ผู้จัดทำขอขอบคุณข้อมูลจาก

คุณครู มัลลิกา สุทธิสถิตย์
โรงเรียนบ้านคลองกะพง จันทบุรี

ภาพเคลื่อนใหวโดย คุณครู ทัศนีย์ เทียมศรี

อ้างอิงข้อมูล

http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/chanthaburi/mallika_s/Art_Thaidance_06/index.html...

อ้างอิงรูปภาพ

http://magic.igetweb.com/index.php?mo=12&catid=103069

อ้างสื่่อเคลื่อนใหว

http://www.youtube.com/watch?v=LWEpdwDAQZs

แบบทดสอบหลังเรียน




คำชี้แจง ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุด
1. การกำมือขวา ปาดมือลงบนมือซ้ายระดับเอว มีความหมายว่าอย่างไร
    ก. คอย
    ข. เมตตา
    ค. เข้มแข็ง
    ง. ชั่วร้าย
2. ท่ารำแบบใด มักไม่ค่อยมีปรากฎในตัวนาง
    ก. การยกเท้า
    ข. การยกข้าง
    ค. การจีบ
    ง. การตั้งวง
3. การก้าวเท้า จะทำหลังจากข้อใด
    ก. การจีบ
    ข. การถัดเท้า
    ค. การยกเท้า
    ง. การประเท้า
4. ข้อใดเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการแสดงรำเชิญพระขวัญ
    ก. ธูป
    ข. แว่นเทียน
    ค. ดอกไม้
    ง. พัด
5.เมื่อรำเชิญพระขวัญถึงท้ายเพลง ผุ้รำเชิญพระขวัญจะต้องทำอย่างไร
    ก. เป่าเทียนให้ดับ
    ข. เอียงตัวไปทางซ้าย
    ค. ยืนถือเทียนสองมือ
    ง. คุกเข่าลงจับแว่นเทียน
6. การจีบปรกหน้า มือที่จีบจะต้องอยู่ระดับใด
    ก. หน้าผาก
    ข. ใบหู
    ค. จมูก
    ง. ปาก
7.การรำเชิญพระขวัญใช้แสดงในงานใด
    ก. งานสวดศพ
    ข. งานปีใหม่
    ค. งานเลี้ยงต้อนรับ
    ง. งานทอดผ้าป่า
8.ภาษาท่า ได้ยิน ทำจีบอย่างไร
    ก. จีบคว่ำ
    ข จีบหงาย
    ค. จีบปรกหน้า
    ง. จีบปรกข้าง
9. การตบเท้า ต่างจาก การประเท้าอย่างไร
    ก. การตบเท้าต้องย่อเข่า
    ข. การประเท้าไม่ต้องย่อเข่า
    ค. การตบเท้าไม่ต้องยกเท้าขึ้น
    ง. การประเท้าไม่ต้องยกเท้าขึ้น
10. การแสดงรำเชิญพระขวัญให้สวยงามจะต้องยึดอะไรเป็นหลักสำคัญที่สุด
    ก.  รูปร่างผู้รำ
    ข.  การแต่งกาย
    ค.  ความปลอดภัย
    ง.  ความพร้อมเพรียง